โรงเรือนผลิตน้ำดื่มมาตรฐานอย
โรงเรือนผลิตน้ำดื่มมาตรฐานอยสำหรับผู้ที่สนใจต้องการจะทำน้ำดื่มขายหรืออยากมีโรงานผลิตน้ำดื่มของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นโรงงานผลิตน้ำดื่มขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ และต้องถูกต้องตามมาตรฐานหรือกลักเกนท์ของกระทรวงสาธารสุขหรืออ.ย เรามาดูแบบแปลนแบบโรงผลิตน้ำดื่มdwgของบริษัท ทีที วอเตอร์เทค ที่ผ่านเลขหมายอ.ยกัน ครับ
โรงเรือนผลิตน้ำดื่มมาตรฐานอย
แบบโรงผลิตน้ำดื่มDwg
แบบเปลนโรงงานผลิตน้ำดื่ม
ขึ้นอยู่กับขนาดของโรงเรือนหรือสถานที่ผลิต อ อกแบบก่อสร้างให้เหมาะสมกับเครื่องจักรที่เลือกมาติดตั้ง ทั้งนี้
- พื้นที่ห้องบรรจุ
- ห้องบรรจุ
- เก็บสต๊อกวัตถุดิบ
- พื้นที่เก็บสินค้าที่บรรจุแล้ว
- ส่วนของพื้นที่ซักล้าง
ขั้นตอนการขอ อย. เพื่อผลิตน้ำไว้จำหน่ายหรือ กระบวนการผลิตน้ำดื่ม
- ออกแบบอาคารผลิตส่งให้ อย. เพื่อขอคำแนะนำในการก่อสร้าง
- นำน้ำที่ใช้ในการผลิตส่งวิเคราะห์เบื้องต้น จากหน่วยงานที่รับวิเคราะห์คุณภาพน้ำ
- ก่อสร้างอาคารผลิตและติดตั้งชุดผลิตน้ำ
- จัดหาอุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน เช่น หมวก ผ้าคลุม ตาข่าย แถบรัดผม ผ้ากันเปื้อน
- ส่งเอกสารยื่นความจำนงขอ อย. (โดยขอแบบฟอร์มจากเจ้าหน้าที่ อย.)
- เจ้าหน้าที่ อย. จะนัดวัน เวลาเข้ามาตรวจสอบอาคารสถานที่ผลิต และเก็บตัวอย่างน้ำที่ผ่านกรรมวิธีการผลิตและบรรจุขวดพร้อมจำหน่ายให้ทางผู้ประกอบการส่งวิเคราะห์ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์
- ส่งผลวิเคราะห์น้ำจากศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ (ต้นฉบับ) พร้อมเอกสารขออนุญาตเลขที่ อย. ให้แก่เจ้าหน้าที่ อย.
ความหมายของเลขสารบบอาหารการจดทะเบียนอาหาร และการแจ้งรายละเอียดอาหาร
เลขสารบบอาหาร หมายถึง ตัวเลข 13 หลัก ที่ได้รับอนุญาตในส่วนของสถานที่ และ
ผลิตภัณฑ์อาหาร โดยแสดงในเครื่องหมาย
การจดทะเบียนอาหาร หมายถึง การขอรับเลขสารบบอาหาร ของอาหารก าหนดคุณภาพหรือ
มาตรฐาน
การแจ้งรายละเอียดอาหาร หมายถึง การขอรับเลขสารบบอาหารของอาหารที่ต้องมีฉลาก
และอาหารทั่วไป
ความหมายของสถานที่ผลิตอาหาร
สถานที่ผลิตอาหารที่ไม่เข้าข่ายโรงงาน หมายถึง สถานที่ผลิตอาหารที่มีการใช้เครื่องจักร
ก าลังแรงม้าหรือก าลังแรงม้าเปรียบเทียบรวมไม่ถึง 5 แรงม้า และใช้คนงานรวมไม่ถึง 7 คน
โดยใช้เครื่องจักรหรือไม่ก็ตาม สถานที่ผลิตอาหารที่เข้าข่ายโรงงาน หมายถึง โรงงานตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.
2535 ที่มีการใช้เครื่องจักรมีก าลังแรงม้าและก าลังแรงม้าเปรียบเทียบรวมตั้งแต่ 5 แรงม้า
ขึ้นไป หรือใช้คนงานตั้งแต่ 7คนขึ้นไป โดยใช้เครื่องจักรหรือไม่ก็ตาม
กรณีใดบ้างที่ต้องขออนุญาต
1. การขออนุญาตสถานที่
1.1 การขอตรวจประเมินสถานที่ผลิตและเก็บอาหาร
1.1.1 การขออนุญาตตั้งโรงงานผลิตอาหาร
1.1.2 การขอรับเลขสถานที่ผลิตอาหารที่ไม่เข้าข่ายโรงงาน
1.2 การขออนุญาตน าหรือสั่งอาหารเข้ามาในราชอาณาจักร
2. การขออนุญาตผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อขอรับเลขสารบบอาหาร
2.1 การขออนุญาตผลิตภัณฑ์อาหารควบคุมเฉพาะด้วยแบบ อ.17 หรือ แบบ สบ.3 และผลิตภัณฑ์เสริม
อาหารที่มีส่วนประกอบนอกเหนือจากที่ก าหนดในบัญชีรายชื่อที่ส านักงานคณะกรรมการอาหารและยา
ก าหนดด้วยแบบ สบ.3
2.2 การขออนุญาตผลิตภัณฑ์อาหารด้วยการจดทะเบียนอาหาร แบบ สบ.5
2.3 การขออนุญาตผลิตภัณฑ์อาหารด้วยการจดทะเบียนอาหาร และแจ้งรายละเอียดอาหาร แบบ สบ.7